ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการจะเกิดขึ้นได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ทดลองช่วยกันป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น ฉะนั้นผู้ทดลองต้องมีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติตนในห้องปฏิบัติการเป็นพื้นฐาน เช่น รู้ระเบียบข้อบังคับ รู้ถึงอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในสารเคมี ไม่ทำงานด้วยความประมาท สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมากที่ต้องศึกษาให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนที่จะปฏิบัติการทดลอง
ข้อควรปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
- ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ห้องปฏิบัติการทดลองเป็นสถานที่ทำงาน ต้องทำการทดลองด้วยความตั้งใจ
- ต้องอ่านคู่มือห้องปฏิบัติการทดลองก่อนที่จะห้องปฏิบัติการทดลอง และพยายามทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการทดลอง หากไม่เข้าใจให้ถามอาจารย์ผู้ควบคุมก่อนการทดลอง
- อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทดลองต้องสะอาด ความสกปรกเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ผลการทดลองผิดพลาด
- เมื่อต้องการใช้สารละลายที่เตรียมไว้ ต้องรินลงในบีกเกอร์ โดยรินออกมาประมาณเท่ากับจำนวนที่ต้องใช้ ถ้าสารละลายเหลือให้เทลงในอ่าง อย่าเทกลับลงในขวดเดิม
- ถ้ากรดหือสารเคมีที่เป็นอันตรายถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้าต้องรีบล้างด้วยน้ำทันทีเพราะสารเคมีหลายชนิดซึมเข้าไปผิวหนังอย่างรวดเร็ว และเกิดเป็นพิษขึ้นมาได้
- อย่าเทน้ำลงบนกรดเข้มข้นไดๆ แต่ค่อย ๆ เทกรดเข้มข้นลงในน้ำช้า ๆ พร้อมกวนตลอดเวลา
- เมื่อต้องการดมสาเคมี อย่าดมโดยตรง ควรใช้มือพัดกลิ่นสารเคมีเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย (อย่าสูดแรง)
- ออกไซด์ ของธาตุบางชนิดเป็นพิษหรือสารที่ไวต่อปฏิกิริยาหือสารที่มีกลิ่นเหม็น การทดลองได ๆ ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซนี้ควรทำในตู้ควัน
- อย่ากินอาหารในห้องปฏิบัติการ เพราะอาจมีสารเคมีปะปน ซึ่งสารเคมีบางชนิดอาจมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- ต้องทำการทดลองด้วยความระมัดระวังที่สุด ความประมาทเลินเล่ออาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได้
การกำจัดสารอันตรายที่หกหล่น รั่วไหล
เมื่อสารเคมีหกอาจเกิดอันตรายได้หากไม่ระมัดระวัง เพราะสารเคมีบางชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย บางชนิดติดไฟง่าย ดังนั้นเมื่อสารเคมีหกจะต้องรีบเก็บกวาดให้เรียบร้อยทันทีดังต่อไปนี้- สารที่เป็นของแข็ง สารเคมีที่เป็นของแข็งหก ควรใช้แปลงกวาดรวมกันใส่ในช้อนตักแล้วจึงนำไปใส่ในภาชนะ
- สารละลายที่เป็นกรด เมื่อกรดหกต้องรีบทำให้เจือจางด้วยน้ำก่อนแล้วโรยโซดาแอส หรือสารละลายด่างเพื่อทำให้กรดเป็นกลางจากนั้นจึงล้างด้วยน้ำสะอาด
ข้อควรระวัง เมื่อเทน้ำลงบนกรดเข้มข้นที่หก เช่น กรดกำมะถัน จะมีความร้อนเกิดขึ้นและกรดอาจกระเด็นออกมา จึงควรเคย ๆ เทน้ำลงไปมาก ๆ เพื่อให้เกิดการเจือจางและความร้อนที่เกิดขึ้นรวมทั้งการกระเด็นจะน้อยลง
- สารละลายที่เป็นด่าง เมื่อสารเคมีที่เป็นของด่างหก ต้องเทน้ำลงไปเพื่อลงความเข้มข้นของด่างแล้วเช็ดให้แห้งพยายามอย่าให้กระเด็นขณะเช็ด เนื่องจากสารละลายด่างจะทำให้พื้นลื่น
- สารที่ระเหยง่าย เมื่อสารเคมีที่ระเหยง่ายหกจะระเหยกลายเป็นไออย่างรวดเร็วบางชนิดติดไฟได้ง่าย บางชนิดเป็นอันตรายต่อผิวหนังและปอด การทำความสะอาดสารระเหยง่ายทำได้ดังนี้
4.1 ถ้าสารที่หกมีปริมาณน้อย ใช้ผ้าขี้ริ้วเช็ดถูออก
4.2 ถ้าสารที่หกมีปริมาณมาก ทำให้แห้งโดยใช้ไม้ที่มีปุยผูกที่ปลายสำหรับเช็ดถู - สารที่น้ำมัน สารพวกนี้เช็ดออกได้โดยใช้น้ำมาก ๆ เมื่อเช็ดออกแล้วพื้นบริเวณที่สารหกจะมีกลิ่นให้ล้างด้วยผงซักฟอก เพื่อสารที่ติดอยู่ออกไปให้หมด
- สารปรอท สารปรอทไม่ว่าอยู่ในรูปไดล้วนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้นเพราะทำอันตรายต่อระบบประสาท ดังนั้นการทดลองใดที่เกี่ยวข้องกับสารปรอทต้องใช้ความระมัดระวังให้ กรณีที่สารปรอทหกวิธีการที่ถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้
6.1 กวาดสารปรอทมากองรวมกัน
6.2 เก็บสารปรอทโดยใช้เครื่อง ดังรูปภาพ
6.3 ถ้าพื้นที่สารปรอทหกหรือรอยร้าว ควรปิดรอยแตกด้วยขี้ผึ้งทาพื้นหนา ๆ เพื่อกันการระเหยของปรอทหรือหรือใช้ผงกำมะถันพรมลงไป ปรอทจะเปลี่ยนเป็นสารประกอบซัลไฟลด์ แล้วเก็บกวาดอีกครั้งหนึ่ง
ที่มา http://www.envi.cmru.ac.th/instrument/chapter1_t1.html
บทที่1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี
บทที่1.3 การวัดปริมาณสาร
- วิชาเคมีคือวิชาที่มีการเรียนในทุกๆประเทศในโลก ในขณะที่โลกยิ่งกลายเป็นยุคโลกาภิวัตน์มากขึ้น นักวิทยาศาสตร์กำลังใช้เทคโนโลยีในการแบ่งปันงานวิจัยของพวกเขา เพื่อที่จะให้เพื่อนของเขาเข้าใจมากขึ้น นักเคมีได้ใช้ระบบหน่วยสากล(ตัวย่อ หน่วยSI)ในการแสดงปริมาณในงานวิจัยของพวกเขา ระบบนี้ขึ้นอยู่กับระบบเมทริก มันถูกสร้างขึ้นประมาณเจ็ดหน่วยพื้นฐานและยี่สิบสองหน่วยอนุพัทธ์ มันยังมีชุดของคำนำหน้าที่ทำหน้าที่เป็นตัวคูณฐานทศนิยม
- มันมีความสำคัญมากที่ต้องท่ิองจำข้อมูลในตาราง เมื่อคุณได้เรียนวิชาเคมีต่อไปเรื่อยๆ คุณอาจจะจดจำคำศัพท์เหล่านี้ได้เพราะคุณหมั่นฝึกฝนทำโจทย์
หน่วยฐาน
- หน่วยฐานเหล่านี้เป็นหน่วยพื้นฐานของทุกๆหน่วยSIตัวอื่นที่มีอยู่ ตารางต่อไปนี้สรุปหน่วยฐาน
คำนำหน้าหน่วย
- หน่วยเมตริกใช้คำนำหน้าเพื่อระบุว่าปริมาณมีขนาดใหญ่เท่าใด ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณซื้อ แอปเปิ้ล5 กิโลกรัม คุณมีลูกแอปเปิ้ลทั้งหมดกี่กรัม?
คำตอบ ทุกๆหนึ่งกิโลกรัมจะมี 1000 กรัม คูณ : 5 กิโลกรัม x 1000 กรัม /1 กิโลกรัม = 5000 กรัม
- สังเกตว่าฉันได้ทำอัตราส่วน เนื่องจากมันมี1000กรัมในหนึ่งกิโลกรัม ฉันทำอัตราส่วน 1 กิโลกรัม:1000กรัม และใช้มันในการคูณ ฉันรู้ได้อย่างไรว่าจำนวนไหนควรใส่ด้านบน?ทำไมฉันคูณ 5 กิโลกรัม ด้วย 1 กิโลกรัม/1000กรัม?
- คุณต้องตัดหน่วย “กิโลกรัม” โดยการใส่ปริมาณ "1 กิโลกรัม" ในตรงส่วน ฉันจึงสามารถ “หาร”ด้วยกิโลกรัมและได้หน่วยสุดท้ายเป็นกรัม นี่คือหลักปริมาณสารสัมพันธ์อย่างง่าย
- ใช้ตารางนี้เพื่อแปลงระหว่างคำหน้าของหน่วย SI อย่างรวดเร็ว ตารางนี้แสดงว่า คำหน้า "k" หมายถึง สิ่งที่ใหญ่กว่าหน่วยSI 1000 เท่า ในกรณีของเรา "k" กรัม คือ ใหญ่กว่าหนึ่งกรัม1000เท่า
หน่วยอนุพัทธ์
- เราจะเน้นที่หน่วยอนุพัทธ์15หน่วยจากระบบSI เพราะส่วนที่เหลือเป็นหน่วยที่ไม่นิยมใช้ในวิชาเคมี หน่วยอนุพัทธ์ถูกสร้างโดยความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่างหน่วยฐาน
ตารางนี้สามารถใช้เมื่อทำโจทย์ที่ท้าทายกว่า
หน่วยอนุพัทธ์ที่ไม่ใช่หน่วย SI ที่นักเคมีใช้คือ
- 1 นาที,minute (min) = 60 วินาที
- 1 ชั่วโมง,hour (h) = 60 นาที
- 1 วัน,day (d) = 24 ชั่วโมง
มุมระนาบ(ดีกรี,degree)
- 1 ลิตร,liter (L) = 10-3 m3
- 1 บาร์, bar (bar) = 105 Pa,ปาสคาล
- 1 อางสตรอม,Angstrom (Å) = 10-10 m,เมตร
- 1 อิเล็กตรอนโวลต์, electronvolt (eV) = 1.60218 x 10-19 J,จูลน์
- 1 unified mass unit (u) = 1.66054 x 10-27 kg,กิโลกรัม
หมายเหตุ: สามหน่วยสุดท้ายของการวัดถูกใช้ในการอธิบายปริมาณในระดับอะตอม 1 eV คือประจุที่1หนึ่งอิเล็กตรอนมี
ตัวอย่าง : คุณกำลังขับรถ100 กิโลเมตร/ชั่วโมง จงอธิบายหน่วยนี้ในหน่วยSI
- หน่วยสำหรับอัตราเร็วคือ เมตรต่อนาที m/s
- ในหนึ่งกิโลเมตร มี 1000เมตร
- ในหนึ่งชั่วโมงมี 3600 วินาที
- จำไว้ว่าในการใส่หน่วยคุณต้องการกำจัดเศษส่วนอัตราส่วนที่อยู่อีกข้าง หน่วยสุดท้ายที่คุณต้องการอยู่ข้างของอัตราส่วนที่คุณต้องการ นี่ทำให้ตัดหน่วยที่ไม่ต้องการและแทนที่พวกมันด้วยหน่วยใหม่
- 100 km/h x 1000 m/1 km x 1 hour/3600s = 27.8 m/s
- แปลงความหนาแน่นของ 1.5 kg/m3 เป็น g/cm3.
- 1 kg = 1000 g
- 1 m3 = 1 000 000 cm3
- 1.5 kg/m3 x 1 m3/1 000 000 cm3 x 1000 g/ 1 kg = 1.5 x 10-3 g/cm3
ที่มา https://sites.google.com/a/sapit.ac.th/june-265/02-kar-wad-kha-thang-withyasastr-ni-sakha-khemi/1-priman-sar-khemi
บทที่1.4 หน่วยวัด
การวัดมาตราเมตริก
เมตร ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นระยะทางการเดินทางของแสงในสูญญากาศภายใน 1/299,792,458 วินาที ส่วนการวัดระยะทางและความยาวอื่น ๆ ในระบบเมตริกมาจาก เมตร (เช่น กม. = 1,000 ม., 1 ม. = 1,000 มม.)
หน่วยวัดอิมพีเรียล/ อเมริกัน
หน่วยวัดเหล่านี้มีความก้าวหน้าที่มีเหตุผลน้อยมาก หลา สามารถกำหนดเป็นความยาวของลูกตุ้มนาฬิกา ซึ่งก่ดให้เกิดส่วนโค้งเพื่อแกว่งภายใน 1 วินาทีอย่าวแม่นนำ ไมล์ทะเลเป็นระยะทาง 1' (1/60 องศา) รอบพื้นผิวโลก
ที่มา https://www.metric-conversions.org/th/length-conversion.htm
บทที่1.5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific Method )
คือ การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีกระบวนการที่เป็นแบบแผนมีขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติตามได้ โดยขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญของนักวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. ขั้นกำหนดปัญหา คือ จะต้องคำนึงว่าปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร ปัญหาเกิดจากการสังเกต การสังเกตเป็นคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ การสังเกตอาจจะเริ่มจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน คือ สมมติฐานมีคำตอบที่อาจเป็นไปได้ และคำตอบที่ยอมรับว่าถูกต้องเชื่อถือได้ เมื่อมีการพิสูจน์ หรือตรวจสอบหลาย ๆ ครั้ง
3. ขั้นตรวจสอบสมติฐาน คือ เมื่อตั้งสมมติฐานแล้ว หรือคาดเดาคำตอบหลาย ๆ คำตอบไว้แล้ว กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นต่อไป คือตรวจสอบสมมติฐาน ในการตรวจสอบสมมติฐานจะต้องยึดข้อกำหนดสมมติฐานไว้เป็นหลักสำคัญเสมอ กระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ผู้ทดลองทางวิทยาศาสตร์ ผู้ทดลองจะต้องควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการทดลอง เรียกว่า ตัวแปร (Variable) คือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการทดลอง ซึ่งควรจะมีตัวแปรน้อยที่สุด ตัวแปรแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1) ตัวแปรต้น ( ตัวแปรอิสระ) (Independent variable) คือ ตัวแปรที่ต้องศึกษาทำการตรวจสอบ
และดูผลของมัน เป็นตัวแปรที่เรากำหนดขึ้นมา เป็นตัวแปรที่ไม่อยู่ในความควบคุมของตัวแปรใด ๆ
และดูผลของมัน เป็นตัวแปรที่เรากำหนดขึ้นมา เป็นตัวแปรที่ไม่อยู่ในความควบคุมของตัวแปรใด ๆ
2) ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ ตัวแปรที่ไม่มีความเป็นอิสระในตัวมันเอง เปลี่ยนแปลงไป
ตามตัวแปรอิสระ เพราะเป็นผลของตัวแปรอิสระ
ตามตัวแปรอิสระ เพราะเป็นผลของตัวแปรอิสระ
3) ตัวแปรควบคุม (Controlled variable) หมายถึง สิ่งอื่น ๆ นอกจากตัวแปรต้น ที่ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนแต่เราควบคุมให้คงที่ตลอดการทดลอง เนื่องจากยังไม่ต้องการศึกษา
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล คือ เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การค้นคว้า การทดลอง หรือการรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง มาทำการวิเคราะห์ผล อธิบายความหมายของข้อเท็จจริง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ว่าสอดคล้องกับสมมติฐานข้อไหน
5. ขั้นสรุปผล คือ เป็นขั้นสรุปผลที่ได้จากการทดลอง การค้นคว้ารวบรวมข้อมูล สรุปข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองว่าสมมติฐานข้อใดถูก พร้อมทั้งสร้างทฤษฎีที่จะใช้เป็นแนวทางสำหรับอธิบายปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน และนำไปใช้ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น
องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์
เพื่อที่จะให้เข้าใจความหมายของวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจนเพิ่มขึ้นจำเป็นที่จะต้องรู้ถึง องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์ ซึ่งเครือวัลย์ โพธิพันธ์ (2542 : 4)ได้แบ่งองค์ประกอบเป็น 3 ส่วน ดังนี้คือ
1. ส่วนที่เป็นผลจากผลงานของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลที่ยุติแล้วและได้ถูกสะสมเรียบเรียงเป็นระบบความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางภาพของมนุษย์
2. เป็นองค์แห่งความรู้ หรือองค์เนื้อหาของวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย
2.1 ข้อเท็จจริง (Fact)
2.2 หลักการ (Principle)
2.3 แนวคิด (Concept)
2.4 สมมติฐาน (Hypothesis)
2.5 ทฤษฎี (Theory)
2.6 กฎ (Law)
3. เป็นความรู้ที่ได้จากการค้นหาความลี้ลับทางธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการตั้งปัญหาถามตัวเองอยู่ 3 ประการคือ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไมจึงเกิด และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบซึ่งได้มาจากองค์แห่งความรู้
1. ส่วนที่เป็นผลจากผลงานของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลที่ยุติแล้วและได้ถูกสะสมเรียบเรียงเป็นระบบความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางภาพของมนุษย์
2. เป็นองค์แห่งความรู้ หรือองค์เนื้อหาของวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย
2.1 ข้อเท็จจริง (Fact)
2.2 หลักการ (Principle)
2.3 แนวคิด (Concept)
2.4 สมมติฐาน (Hypothesis)
2.5 ทฤษฎี (Theory)
2.6 กฎ (Law)
3. เป็นความรู้ที่ได้จากการค้นหาความลี้ลับทางธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการตั้งปัญหาถามตัวเองอยู่ 3 ประการคือ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไมจึงเกิด และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบซึ่งได้มาจากองค์แห่งความรู้
ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดสาขาทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาใหม่
- เกิดจากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่างๆจากสิ่งแวดล้อมและทุกสิ่งที่อยากรอบกาย
- เกิดจากการสงสัยต่างๆรอบกายสิ่งแวดล้อม
- เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่อำนวยให้แก่หลายๆด้าน
ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
- สร้างคนให้มีกระบวนการคิด มีเหตุมีผล ไม่หลงงมงายในสิ่งที่ไร้สาระ
- สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา การตัดสินใจได้ดี
- ทำให้มนุษย์สะดวกมากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันเพราะมีเทคโนโลยีมาช่วย
- วิเคราะห์ปัญหาในสถานการณ์ที่เป็นจริงในชีวิตประจำวันเพื่อการแก้ปัญหา
- วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น